ประวัติความเป็นมา

พ.ศ. 2517
สถาบันฯ ได้รับระบบคอมพิวเตอร์ ชนิด HITACHI-10 จากรัฐบาลญี่ปุ่น ตามโครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่น ด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการเรียน การสอน และวัดผลการศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วย
  • หน่วยความจำหลัก (memory) รวมทั้งหมด 72 กิโลไบท์
  • หน่วยความจำช่วย (drum memory) 64 กิโลไบท์
  • เครื่องเจาะและอ่านเทป 7 เครื่อง
  • หน่วยประมวลสัญญาณกลาง (CPU) 2 เครื่อง
ภาษาที่ใช้ ASSEMBLER, FORTRAN, BASIC
พ.ศ. 2517
พ.ศ. 2524
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ในขณะนั้นเป็นวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง) ได้รับความช่วยเหลือสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับมอบระบบคอมพิวเตอร์ NEC -300 (ระบบปฏิบัติการ ACOS-4 Release 7.51) และติดตั้งที่ห้อง T.102 ตึกโทรคมนาคม ในปี พ.ศ. 2524 นับแต่นั้นมา ระบบ NEC-300 ได้รับการใช้งานแทนคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า Hitac-10 ซึ่งได้ติดตั้งไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517
พ.ศ. 2524
พ.ศ. 2525
ขออนุมัติจัดตั้งสำนัก
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2525 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ NEC-300 ทั้งระบบได้ถูกย้ายไปติดตั้งบนชั้น 2 ตึกคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก่อสร้างเสร็จในขณะนั้น และมีการใช้งานระบบ NEC-300 ในอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ และงานด้านวิจัยที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการช่วยคำนวณ สำหรับงานบริหารก็ได้มีการพัฒนาระบบประมวลผลทะเบียนนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นเป็นครั้งแรก จากประสบการณ์และความก้าวหน้าของการใช้คอมพิวเตอร์ ระบบ NEC-300 พร้อมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นมีความเจริญก้าวหน้ากว่าเดิมอย่างมาก สถาบันฯได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาและงานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ โดยนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษา ด้านวิจัยในสาขาวิชาอื่น และพัฒนาด้านงานบริหารของสถาบันฯ จึงได้ขออนุมัติจัดตั้งสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ เพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแล และให้บริการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อันเป็นส่วนรวมของสถาบันฯ ดำเนินการวิจัย พัฒนาด้านคอมพิวเตอร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเสริมสร้างความรู้ ความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์แก่นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ
พ.ศ. 2525
พ.ศ. 2527
อนุมัติให้จัดตั้ง
สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับคณะ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการด้านคอมพิวเตอร์ และช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา การวิจัย และด้านการบริหารงานของสถาบันฯ นโยบายของสำนักวิจัยเน้นหนักในเรื่องการให้บริการคอมพิวเตอร์แก่หน่วยงาน และบุคลากรทั่วทั้งสถาบัน เพื่อประโยชน์ของงานหลัก อันได้แก่ งานการเรียนการสอน งานวิจัย และด้านงานบริหารสถาบันฯ ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ ทั้งยังสนับสนุนและให้คำแนะนำเพื่อการศึกษาและค้นคว้าวิจัยคอมพิวเตอร์ ด้านการใช้และกรรมวิธีพัฒนาระบบโปรแกรมแก่คณาจารย์ และนักศึกษาสถาบันฯ
พ.ศ. 2527
พ.ศ. 2532
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมติดตั้งอยู่ที่สำนักวิจัยฯ เป็นระบบ NEC-610 ( ระบบปฏิบัติการ ACOS-4/MVP XE-AF ) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นภายใต้แผนโคลัมโบ ในโครงการ 5 ปี “ The Expension Project of KMITL ” (เมษายน 2531 - มีนาคม 2536) ระบบดังกล่าวได้รับการติดตั้งครั้งแรกใน เดือนกรกฎาคม 2532 อุปกรณ์หลักของระบบประกอบไปด้วย
  • หน่วยประมวลผลกลางที่มีหน่วยความจำหลักขนาด 24 MB  และหน่วยความจำ cache ขนาด 16 KB  ดิสมีความจุขนาด 3.8 GB 
  • หน่วยอ่านเขียนบันทึกเทปแม่เหล็ก 2 เครื่อง
  • เครื่องพิมพ์จำนวน 2 เครื่อง
  • อุปกรณ์ควบคุมการสื่อสารข้อมูลแบบ B4670 LAN และแบบ CCITT V.24 
  • เทอร์มินัลชนิด NEC APC-III จำนวน 3 ชุด
  •  NEC APC-IV  จำนวน 54 ชุด
  • จอภาพกราฟิก
  • เครื่องพล๊อตเตอร์จำนวนหนึ่ง
พ.ศ. 2532
พ.ศ. 2534
งานด้านบริการคอมพิวเตอร์  ดูแลห้องปฏิบัติการไมโครคอมพิวเตอร์ (ชั้น 2 อาคารสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ) ที่ติดตั้งด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ขนาด 8 บิท  (NEC PC-8001  mk II) จำนวน 60 ชุด เพื่อให้บริการการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ขั้นเบื้องต้นและในเดือนมีนาคม 2534  สำนักวิจัยฯได้ติดตั้งเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN:  Local Area Network)  ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย NetWare 386  และเชื่อมโยงไมโครคอมพิวเตอร์  NEC APC-IV  จำนวน 35 ชุดที่ติดตั้งในห้องเทอร์มินัล  A  ชั้น 2 ตึกคอมพิวเตอร์เพื่อให้ใช้งานได้ทั้งเทอร์มินัลของ NEC-610 และ เวอร์คสเตชันของ NetWare 368

งานด้านพัฒนาระบบสารสนเทศ รับผิดชอบพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับบริหารงานสถาบันฯ (KMIS: KMITL Management Information System) เพื่อใช้ในงานบริหาร อาทิเช่น ประมวลผลนักศึกษา งานเงินเดือน งานการเงินและบัญชี งานบริหารใช้ห้องเรียน อาคารสถานที่และสาธารณูปโภค และงานบริหารพัสดุ ฯลฯ

งานด้านการวิจัย  บุคลากรสำนักวิจัยฯ ศึกษาค้นคว้าด้านคอมพิวเตอร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันโครงการวิจัยในแขนงวิชา:  การพัฒนาระบบภาพตัดขวางร่างกายโดยใช้เทคนิค Computerized Tomography  งานวิจัยด้าน NMR(Nuclear Magnetic Resonance)  การออกแบบวงจรขนาดใหญ่มาก  (VLSI Design)  การออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์ การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน/ระบบบริหารการเรียนการสอน  ( CBI/BMI :Computer-Based/Comuper-Managed Instruction)  เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล การจำแนกเสียงภาษาไทย การจำแนกอักษรภาษาไทย การพัฒนาระบบแปลภาษา (Machine Translation) ฯลฯ

นอกจากนี้ในปีพศ 2534 - 2535  สำนักวิจัยมีโครงการซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบ (CAD: Computer Aided Design)  และจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ (CAD Center) 

พ.ศ. 2534
พ.ศ. 2538
ได้รับงบประมาณสนับสนุน ในการจัดทำระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายในโครงการคอมพิวเตอร์ระบบเปิด (open system) และคอมพิวเตอร์ทำงานแบบขนานความเร็วสูงมาก (super computer) เพื่อให้บริการการใช้งานระบบอินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แก่นักศึกษาและบุคลากรของสถาบันฯ รวมถึงบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายนอกสถาบันฯ สนับสนุนการเรียน การสอน และการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงมาก (นวมาศ: Nawamas)
  • เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายบริการอินเตอร์เน็ต (เจ้าคุณ: Chaokhun) SUN Sparc 2000
  • เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายบริการโปรแกรมประยุกต์ (แคแสด: Khaesad) SUN Sparc 2000
  • เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายระบบฐานข้อมูล (ร่มเกล้า: Romklao) HP T520
  • เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายบริการหลักประจำคณะ (Faculty servers)
  • เครื่องคอมพิวเตอร์แบบ X-terminal 119 เครื่อง
พ.ศ. 2538
พ.ศ. 2543
ได้รับงบประมาณสนับสนุนในการจัดทำระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในโครงการคอมพิวเตอร์ระบบเปิด (open system) เพิ่มเติม สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ ได้ตระหนักถึงคุณภาพและมาตรฐานของการให้การบริการและสนับสนุนการศึกษา โดยได้นำระบบบริหารงานคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9000 มาประยุกต์ใช้ และได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐาน ISO 9002 ทุกระบบงาน เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2543
พ.ศ. 2543
พ.ศ. 2546
ได้รับมอบหมายหน้าที่เพิ่มเติม ให้ดูแลและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบสารสนเทศเพื่องานบริหารของสถาบันฯ รวมไปถึงการให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศของสถาบันฯ
พ.ศ. 2546
พ.ศ. 2548
วางแผนดำเนินการโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ สำหรับ E-University จัดหาทรัพยากรคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมและทดแทนของเดิม เพื่อรองรับการบริการที่มีอยู่เดิม และเพิ่มเติมโครงการการให้บริการอื่นๆให้เหมาะสม รองรับการสนับสนุนการเรียน การสอน การวิจัย การบริหารงานของสถาบันฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศ ได้แก่
  • ระบบกริดคอมพิวเตอร์หรือคลัสเตอร์คอมพิวเตอร์ (Grid or Cluster computer)
  • ไลเซนส์ซอฟท์แวร์ (licensed software) สำหรับงานออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ เช่น CATIA, MatLab, Mathematica เป็นต้น
  • ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ E-learning
  • ระบบการเรียนการสอนหรือการประชุมทางไกล (Video Conference)
  • ระบบเครือข่ายไร้สาย (wireless LAN and access points) ครอบคลุมการใช้งานทั่วทั้งสถาบันฯ
  • ระบบสนับสนุนด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการให้บริการต่างๆ บนคอมพิวเตอร์เซอร์ฟเวอร์ของสถาบันฯ
พ.ศ. 2548
พ.ศ. 2551
สถาบันฯ ปรับเปลี่ยนเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ
7 มีนาคม พ.ศ. 2551 ปรับเปลี่ยนสภาพเป็น มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดย พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ.2551 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 45 ก หน้า 95 ถึง 124 จากการปรับเปลี่ยนสภาพของสถาบันฯ มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานใหม่ สถาบันได้เปลี่ยนชื่อสำนักฯ จาก สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักบริการคอมพิวเตอร์เ มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดูแล บำรุงรักษาเครื่องและระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล และให้บริการแก้ไขปัญหาและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่หน่วยงานต่างๆ ภายในสถาบันฯ
พ.ศ. 2551
พ.ศ. 2553
สถาบันปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานใหม่ โดยโยกส่วนงานสารสนเทศให้มาสังกัดสำนักบริการ คอมพิวเตอร์ปัจจุบัน สำนักบริการคอมพิวเตอร์มีหน้าที่และรับผิดชอบในการดูแล บำรุงรักษา เครื่องและระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เป็นศูนย์กลางในการให้บริการคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล ให้บริการแก้ไขปัญหาและซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่หน่วยงานต่างๆ ภายในสถาบัน ให้คำปรึกษา วางแผน ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบสารสนเทศสำหรับงานบริหารของสถาบัน
พ.ศ. 2553
พ.ศ. 2560
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้นำระบบเครือข่าย 100 GB SDN Campus Network for KMITL of Thailand มาใช้ซึ่งจะเพิ่มเสถียรภาพการให้บริการ เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร ทำงานต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และ WiFi ที่สามารถใช้งานมากกว่า 3,000 จุด ครอบคลุมทั่วสถาบัน ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรมบริการและสนับสนุนระบบสารสนทเทศที่พอเพียงสำหรับสถาบันก้าวสู่ 1 ใน 10 ของภูมิภาคอาเซียนในปี 2020
พ.ศ. 2560
พ.ศ. 2565
สำนักบริการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้นำระบบเครือข่าย 100 GB SDN Campus Network for KMITL of Thailand มาใช้ซึ่งจะเพิ่มเสถียรภาพการให้บริการ เพื่อความรวดเร็วในการสื่อกสาร ทำงานต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง และ WiFi ที่สามารถใช้งานมากกว่า 3,000 จุด ครอบคลุมทั่วสถาบัน ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรมบริการและสนับสนุนระบบสารสนทเทศที่พอเพียงสำหรับสถาบันก้าวสู่ 1 ใน 10 ของภูมิภาคอาเซียนในปี 2020
พ.ศ. 2565
Scroll to Top